• หน้าหลัก
    Home
  • เกี่ยวกับเรา
    About Us
    • โครงสร้างองค์กร Organization Chart
    • พันธกิจ MISSION
  • หน่วยงาน
    Organizations
    • ศูนย์ส่งเสริมวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน
    • ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
    • ศูนย์พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต
  • บุคลากร
    Staff
    • บุคลากรศูนย์ส่งเสริมวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน
    • บุคลากรศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
    • บุคลากรศูนย์พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต
  • Community
    support
  • บริการออนไลน์
    E-Services
    • ระบบชำระเงินออนไลน์ E-Payment - ฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน
    • ระบบจัดการ OKR - ฝ่ายวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน
  • ติดต่อเรา/รับข้อร้องเรียน
    Contact us
  • Direct contact :

    bthida@kku.ac.th

หมวดหมู่

  • ข่าวทั่วไป
  • ประชาสัมพันธ์
  • SDG 1
  • SDG 2
  • SDG 3
  • SDG 4
  • SDG 7
  • SDG 17
  • โครงการขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างยั่งยืน

 โครงการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากพันธุกรรมข้าวพื้นเมือง

10 มิ.ย. 2567 95

   โครงการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากพันธุกรรมข้าวพื้นเมือง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ทำการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียวสำหรับการบริโภคและการส่งออกมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปี 2566 รวมเป็นระยะเวลา 20 ปี โดยได้นำข้าว กข6 ซึ่งเป็นข้าวเหนียวยอดนิยมของผู้บริโภคทั่วไป ที่มีความหอมเหนียวและคุณภาพการกินสูง แต่มีความอ่อนแอต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และสภาพดินเค็มระดับสูง มาปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีมาตรฐาน (conventional breeding) ร่วมกับการใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือก (marker-assisted selection: MAS) เพื่อนำยีนต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และรวบรวมยีนที่ทนทานสภาพดินเค็มเข้าสู่ข้าว กข6 จนกระทั่งได้พันธุ์ข้าวที่ได้รับการรับรองคือ ข้าวพันธุ์ มข60-1 และข้าวพันธุ์ มข60-2

ข้าวพันธุ์ มข60-1 เป็นข้าวเหนียว มีกลิ่นหอม นุ่ม ต้านทานโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง มีความสูงประมาณ 140-150 ซม. ซึ่งเตี้ยกว่าข้าวพันธุ์ กข6 เล็กน้อย จึงทนทานต่อการหักล้มในช่วงเก็บเกี่ยว นอกจากนี้ ข้าวพันธุ์ มข60-1 ยังไม่ไวต่อความยาวช่วงแสง โดยมีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 130 วัน สามารถปลูกเพื่อการบริโภคในฤดูนาปีและผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ในเขตชลประทานนอกฤดูนาปีเพื่อการจำหน่าย ซึ่งราคาของเมล็ดพันธุ์สูงกว่าราคาเมล็ดข้าวเพื่อการบริโภคราวสองเท่า

ข้าวพันธุ์ มข60-2 เป็นข้าวเหนียวนาปี มีกลิ่นหอม นุ่ม มีลักษณะทางสัณฐานวิทยาและลักษณะทางการเกษตรเหมือนข้าว กข6 แต่มีความต้านทานโรคและทนทานต่อสภาพดินเค็ม และเป็นข้าวที่ไวต่อความยาวช่วงแสง มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นกว่าข้าวพันธุ์ กข6 ประมาณ 1 สัปดาห์

โครงการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากพันธุกรรมข้าวพื้นเมืองได้นำข้าวทั้งสองพันธุ์ไปปลูกในพื้นที่ทำนาอินทรีย์ที่ตำบลหนองห้าง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่าข้าวทั้งสองพันธุ์สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เกษตรกรยอมรับพันธุ์ข้าว มข60-1 ที่สามารถปลูกและเก็บเกี่ยวได้เร็วเนื่องจากไม่ไวแสง แม้จะเป็นข้าวที่เก็บเกี่ยวเร็วกว่า กข6 และขาวดอกมะลิ 105 ที่เกษตรกรปลูกกันอยู่ ก็ไม่มีปัญหาเรื่องการทำลายของนก เพราะเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวพันธุ์ดอกเดียว ซึ่งเป็นข้าวที่อายุเก็บเกี่ยวสั้นอยู่แล้ว แต่พันธุ์ดอกเดียวนั้นมีผลผลิตต่ำ และคุณภาพการหุงต้มและการกินต่ำกว่า มข60-1 การเก็บเกี่ยวได้เร็วทำให้เกษตรกรสามารถขายข้าวใหม่ในราคาที่สูง ไม่มีปัญหาด้านการตลาด จึงทำให้ข้าวพันธุ์ มข60-1 ได้รับความสนใจจากเกษตรกร ผู้บริโภค และโรงสี

ข้าวพันธุ์ มข60-2 มีลักษณะคล้ายกับข้าว กข6 ดั้งเดิมมาก เนื่องจากเป็นสายพันธุ์คล้าย แต่มีความต้านทานโรคไหม้และทนทานต่อดินเค็มที่เพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงพันธุ์ นอกจากนี้ถึงแม้จะมีความสูงใกล้เคียงกับข้าวพันธุ์ กข6 แต่ได้รับยีนควบคุมความแข็งแรงของต้นจากสายพันธุ์พ่อ จึงทนทานต่อการหักล้มและได้รับการยอมรับจากเกษตรกรเป็นอย่างมาก

เกษตรกรที่ทำนาด้วยระบบอินทรีย์ในพื้นที่ตำบลหนองห้าง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในชุมชน และในกระบวนการผลิตมีการใช้สารชีวภัณฑ์ร่วมด้วย การนำข้าวพันธุ์ มข60 ทั้งสองพันธุ์มาใช้จึงต้องมีการทดสอบว่าการปลูกข้าว มข60 ทั้งสองพันธุ์จะตอบสนองต่อการจัดการปุ๋ยแตกต่างจากข้าว กข6 เดิมที่เกษตรกรได้ปฏิบัติอยู่หรือไม่ ผลการศึกษานี้จะเป็นแนวทางในการปลูกข้าว มข60 ในพื้นที่เป้าหมายต่อไป อย่างไรก็ตามการปลูกข้าวที่ให้ผลผลิตและคุณภาพดีต้องใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดีและมีคุณภาพ โดยทั่วไปหน่วยงานของรัฐบาลสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ดีป้อนให้เกษตรกรได้ไม่เกิน 15% ของความต้องการของประเทศ ดังนั้นหากชุมชนใดสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพไว้ใช้ในชุมชน ก็จะเป็นการเสริมสร้างรายได้ให้กับชุมชนจากการลดรายจ่ายในการผลิต และพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ นอกจากนี้ชุมชนดังกล่าวปลูกข้าวอินทรีย์ทั้งในรูปเมล็ดพันธุ์และเมล็ดเพื่อการบริโภคและจำหน่าย หากข้าวพันธุ์ มข60-1 และ มข60-2 สามารถปลูกได้โดยให้ผลผลิตเชิงปริมาณและคุณภาพดีเท่ากับหรือมากกว่าข้าว กข6 เดิม ข้าวพันธุ์ใหม่ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นก็จะสามารถผลิตร่วมกับพันธุ์ กข6 เดิมได้ แม้ในกรณีที่มีโรคระบาดและในพื้นที่ดินเค็ม ข้าวก็จะยังรักษาเสถียรภาพผลผลิตได้ จึงเป็นการพัฒนาการใช้นวัตกรรมพันธุ์ข้าวเพื่อการบริโภคและการจำหน่ายทั้งในประเทศและการส่งออกอย่างยั่งยืน

 

KKUENSO

  ส่งเสริมการดำเนินงานของหน่วยวิสาหกิจของส่วนงาน
  สนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนและสังคม (Community Support) โดยนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี
และนวัตกรรม ของมหาวิทยาลัยไปใช้ประโยชน์เชิงสังคม
อย่างเป็นรูปธรรม

  สร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน ตามเป้าหมายหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ของสหประชาชาติ

แหล่งทุน Grantiong Agency

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช)

National Research Council of Thailand (NRCT)

ระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ

สอวช

สำนักงานนวัตกรรม

ติดต่อสอบถาม

ศูนย์ส่งเสริมวิสาหกิจและสังคมยั่งยืน สำนักงานอธิการบดี
อาคาร 2 ชั้น 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 123 หมู่ 16 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

Tel: 043-009700 ต่อ 50832 , 50694

Tel: 083-2464051

Email: kku.innoprise@gmail.com

Working Hours: 08.30 น. - 16.30 น.

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • ศูนย์สื่อการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • ศูนย์บริการสู่ชุมชน สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจังหวัดหนองคาย สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • สถานจัดการและอนุรักษ์พลังงาน สังกัดวิศวกรรมศาสตร์
  • ศูนย์ภาษาอาเซียน สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • ศูนย์บริการจัดการด้านโรงแรม สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • อุทยานวิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • สถานบริหารจัดการงานวิจัยคลินิก (Academic Clinical Research Office, ACRO) สังกัดคณะแพทยศาสตร์
  • สถานบริการสุขภาพเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด สังกัดคณะเทคนิคการแพทย์
  • สถาบันทรัพยากรน้ำใต้ดิน สังกัดสำนักงานอธิการบดี
  • สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
  • กรมพัฒนาธุรกิจการค้า | จดทะเบียนธุรกิจ
  • สำนักคณะกรรมการอาหารและยา
  • ศูนย์ทดสอบผลิดตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ศทอ.)
  • กองวิศวกรรมการแพทย์
  • ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ
  • บัญชีนวัตกรรมไทย สวทช.
  • ระบบสืบค้นบัญชีนวัตกรรมไทย
จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์
147,996

© Copyright KKU. All Rights Reserved